จุดเปลี่ยนแรกที่นำการสักมาสู่ยุคสมัยใหม่คือเมื่อกัปตัน
เจมส์ คุก (Cook) นักเดินเรือคนสำคัญของโลก
ที่เดินทางไปยังหมู่เกาะทะเลใต้ และบุกเบิกทวีปออสเตรเลีย
และนิวซีแลนด์ได้นำศิลปะการสักกลับไปยุโรปใน ค.ศ.1769 ด้วยการนำชาวพื้นเมืองเมาลีที่เชี่ยวชาญการสักกลับไปอังกฤษด้วย
การสักเกิดติดลมกลายเป็นแฟชั่นในหมู่คนชั้นสูง
เพราะคนมีเงินเท่านั้นจึงจะมีรอยสักได้เนื่องจากมีราคาแพง
เป็นเวลากว่าหนึ่งร้อยปีของศตวรรษที่ 19 (ค.ศ.1800"s) ที่การสักเป็นเรื่องของคนชั้นสูง และกัปตันคุกได้รับเครดิตว่า
เป็นผู้นำการสักมาสู่คนเหล่านี้
จริงแล้วคนอังกฤษและยุโรปก่อนหน้านั้นหลายร้อยปีไม่ว่าจะเป็นพระเจ้าแผ่นดิน
(พระเจ้าริชาร์ดใจสิงห์สมัยโรบินฮู้ด) พระเจ้าเฮนรี่ที่ 4 พระเจ้าปีเตอร์มหาราช
ตลอดจนอินเดียนแดงในอเมริกาเหนือล้วนมีการสักกันมาก่อนแล้ว พระเจ้าฮาโรลด์ที่สองแห่งอังกฤษรักสนมคนหนึ่งมากจนมีรอยสักไว้บนหัวใจข้างซ้าย
และรอยสักนี้แหละที่ทำให้สนมของพระองค์ สามารถพิสูจน์พระศพได้เมื่อทรงพ่ายแพ้ แก่ William
the Conqueror ใน ค.ศ.1066
วัฒนธรรมการสักบนผิวหนัง การสักลวดลายบนผิวหนังหรือที่เรียกว่าสักลายหรื
อสักยันต์เป็นวัฒธรรมอย่างหนึ่งของไทย
ที่มีมาช้านานแต่ทุกวันนี้ลายสักหรือสักยันต์ตามความเชื่ออย่างโบราณแทบจะไม่มีแล้ว
จะมีเพื่อความสวยงามเป็นการตกแต่งเสริมความงามให้กับร่างกายบ้างแต่ไม่ม
ากนัก
เรื่องราวของลายสักของคนไทยเป็นสิ่งที่น่าศึกษาค้นคว้าเรื่องหนึ่ง
แต่ดูเหมือนจะไม่มีใคร สนใจใคร่ศึกษามากนัก ทั้งๆ
ที่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมพื้นบ้านอย่างหนึ่งและนับวันจะสูญหายไป
"สัก" คืออะไร พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยถาน พ.ศ.๒๕๒๕ เขียนว่า&n bsp; "สัก" คือ การเอาเหล็กแหลมแทงลงด้วยวิธีการห
รือเพื่อประโยชน์ต่างๆ กัน ใช้เหล็กแหลมจุ้มหมึกหรือน้ำมันงาผสมว่าน ๑๐๘ ชนิดเป็นต้นแทงที่ผิวหนังให้เ
ป็นอักขระเครื่องหมายหรือลวดลายถ้าใช้หมึกเรียกว่าสักหมึก, ถ้าใช้น้ำมันเรียกว่าสักน้ำมันทำเครื่องหมายสักเพื่อแสดงเป็นหลักฐานเช่น สักข้อมือแสดงว่าได้ขึ้นทะเบียนเป็นชายฉกรรจ์หรือมีสังกัดกรมกองแล้วสักหน้าแสดงว่
าเป็นผู้ต้องโทษปราชิกเป็นต้น" จากคำอธิบายดังกล่าวทำให้รู้ว่าการสักลายหรือลา
ยสักของไทยคืออะไร ประเพณีการสักนั้นมีไม่แพร่หลายนักบางหมู่บ้านจะพบว่า
ผู้ชายไม่ว่าหนุ่มหรือแก่มักมีลายสักที่หน้าอกและแผ่นหลังตามสมัยนิยมในขณะที่ผู้ชำน
าญในการสักของท้องถิ่นแสดงความสามารถที่สืบทอดมาอย่างเต็มที่ผู้ที่ทำหน้าที่สักมีทั้งพระสงฆ์และฆราวาส (คนธรรมดา)
ในอดีตสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การสักไม่ได้รับความสนใจเหมือนอดีต
คือชาวเมืองและรวมถึงผู้คนทั่วไปมองว่าผู้ที่มีลายสักเป็นคนชั้นต่ำ
เป็นนักเลงความคิดเช่นนี้น่าจะได้รับอิทธิพลมาจากชาวตะวันตกที่มองผู้ที่มีลาย
สักว่าส่วนใหญ่มักเป็นกลาสีขี้เมาหรือคนจรจัด
คนเมืองจึงเกิดความรู้สึกว่าลายสักเป็นวัฒนธรรมของคนบ้านนอกคนไม่มีการศึกษา
ทัศนคติเช่นนี้มิได้มีแต่คนกรุงเทพฯ เท่านั้นแต่แพร่ไปสู่เมืองอื่นๆ ด้วย
โดยคิดว่า การสักลายเป็นเรื่องของคนจน กรรมกร และคนบ้านนอก
ดังนั้นการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องลายสัก จึงกระทำได้ยากในปัจจุบัน
เพราะคนที่มีลายสักมักจะปกปิดลายสักไว้อย่างมิดชิด
ผู้ที่จะให้ข้อมูลและเปิดเผยเรื่องราวเกี่ยวกับการสักจะเป็นกลุ่มที่มีความเชื่อในอำ
นาจของศิลปะโบราณนี้เท่านั้น การศึกษาค้นคว้าศิลปะชาวบ้านประเภทนี้
ควรจะได้รับการศึกษาบันทึกเกี่ยวกับการออกแบบ กรรมวิธีและพิธีกรรม
ศึกษาเปรียบเทียบแต่ละกลุ่มชน ศึกษาค่านิยมและความเปลี่ยนแปลง
ศึกษาการสักที่สืบทอดมาแต่โบราณ การสักมีรูปแบบที่แตกต่างกันอยู่ ๒ รูปแบบคือ
ลายสักที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ และลายสักที่เกี่ยวเนื่องกับความเชื่อ
แต่ละรูปแบบจะมีวิวัฒนาการตามแบบฉบับของมันและแสดงให้เห็นรูปแบบของธรรมเนียมในประวั
ติศาสตร์ของประเทศไทยในแต่ละแง่แต่ละมุมของลายสักที่สืบทอดกันมาในสังคมไทย
นักประวัติศาสตร์ซึ่งคุ้นเคยกับชีวิตแบบไทย
ๆ
คงจะทราบความจริงว่าข้าราชการของไทยจะทำตำหนิที่ข้อมือคนในบังคับซึ่งเป็นหน้าที่ของ
แผนกทะเบียนเป็นผู้บันทึกและรวบรวมสถิติชาย
และอาจะเดาได้ว่าการสักเป็นจุดเริ่มต้นขอการแบ่งส่วนราชการของไทย
หรือการสักเป็นไปตามการแบ่งส่วนราชการ
การทำเครื่องหมายลงบนร่างกายนี้อาจมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น
ในรัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ( พ.ศ. ๑๙๙๑ - ๒๐๓๑ )
การสักที่เกี่ยวเนื่องกับความเชื่อ
วัตถุประสงค์ของการสัก
ผู้ชายบางคนจะสักยันต์ด้วยเหตุผลทางเวทมนต์คาถาเพื่อความแข็ง แกร่งของจิตใจและต้องการอยู่ยงคงกระพัน
ซึ่งเป็นความเชื่ออย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นเป็นประเพณีนิยมใน ชนบางกลุ่ม
การสักลักษณะนี้จะสักให้เฉพาะชายฉกรรจ์เท่านั้น
การสักมีลักษณะที่สอดแทรกไว้ด้วยความเชื่อและพิธีกรรมหลายอย่าง เช่น
ก่อนทำการสักจะต้องมีการทำพิธีไหว้ครู ในการสักนั้นก็จะประกอบด้วยการร่ายเวทมนต์โดยอาจารย์สักจะถูผิวหนังของผู้มาสักทั้งก่อน ขณะสักลายหรือสักยันต์ และหลังจากสักเสร็จแล้ว
อาจารย์สักแต่ละคนจะมีรูปแบบของลวดลายเป็นของตนเอง
และผู้ที่ต้องการจะสักสามารถเลือกลายที่อาจารย์มีอยู่ได้ตามต้องการ
ส่วนมากจะเป็นสัตว์ในเทพนิยาย และ เป็นอักขระขอมและเลขยันต์
อาจจะสักลายทั้งสามประเภทผสมกัน ดังนั้นลายสักของแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน
การสักในประเทศไทยอาจจะมีมาแต่โบราณ
แต่จะมีมาตั้งแต่สมัยใด ไม่มีหลักฐานชัดเจน
การสักยันต์เพื่อให้อยู่ยงคงกระพันนั้นเชื่อว่ามีมานานแล้วดังปรากฎในวรรณคดี
เรื่องขุนช้างขุนแผน และวรรณกรรมอื่นๆ แต่การสักมักมองว่าเป็นเรื่องของนักเลง
ถูกมองไปในทางลบ ทำให้ศิลปะบนผิวหนังประเภทนี้เกือบจะสูญไปจากสังคมไทย
เหตุผลที่การสักยังคงมีอยู่คือ
หลาย ๆ คนยังเชื่อว่าการสักจะทำให้มีโชคและอยู่ยงคงกระพันพ้นอันตราย
รูปแบบของการสักแต่ละชนิดจะมีความขลังที่แตกต่างกัน
ลายสักหรือยันต์บางชนิดสามารถช่วยผู้ที่สักให้รอดพ้นจากสถานการณ์ที่ยุ่งยากได้
สัญลัษณ์บางอย่างของลายสักสามารถทำให้ผิว หนังเหนียวได้ ศัตรูยิงไม่ออก ฟันไม่เข้า
เชื่อว่าการสักจะช่วยให้รอดพ้นจากสถานการณ์อันเลวร้ายได้ด้วย
นอกจากนี้
การสักทางไสยศาสตร์ยังเชื่อมโยงกับการระวังอันตรายและความปลอดภัย
ทำให้แคล้วคลาดต่ออันตรายต่างๆ ศิลปะพื้นบ้านประเภทนี้
อาจจะกระตุ้นความรู้สึกให้เกิดศรัทธาความเชื่อมั่น เกิดความมั่นใจ
มันอาจเป็นเครื่องแสดงความจริงต่างๆ วัฒนธรรมสมัยใหม่นั้นเมื่อมองแล้วอาจจะไม่ทำให้ปลอดภัย
ส่วนวัฒนธรรมการสักยันต์จึงช่วยให้เกิดความรู้สึกปลอดภัย
เป็นทางหนึ่งที่ช่วยให้จิตใจเขามีความมั่นใจมั่นคงมากยิ่งๆ ขึ้น
ลายสักยอดนิยม ลวดลายสักแต่ละสำนักแต่ละครูอาจารย์มักจะมีความคล้ายคลึงกันเป็นส่วนใหญ่ เช่น ลายเสือเผ่นลายหนุมาน ลายยันต์ชนิดต่างๆ ฯลฯ
จะแตกต่างกันที่รายละเอียดในส่วนปลีกย่อย เท่านั้น เช่น ถ้าเป็นลายหนุมาน
แต่ละอาจารย์ก็จะคงรูปร่างลักษณะและโครงร่างของหนุมานไว้แต่จะมีความแตกต่างกันที่รา
ยละเอียดของนิ้วมือ นิ้วเท้า และเครื่องประดับของหนุมานเป็นต้น
ลวดลายที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในบรรดาผู้ที่นิยมการสักคือ
ลวดลายสักที่ให้ผลทางไสยศาสตร์ซึ่งแบ่งเป็น ๒ ชนิด
คือเพื่อผลทางเมตตามหานิยม
และเพื่อผลทางอยู่ยงคงกระพันชาตรีให้แคล้วคลาดจากของมีคม อุบัติเหตุ
หรืออันตรายทั้งปวถ้าเป็นการสักเพื่อผลทางเมตตามหานิยมมักจะสักเป็นรูปจิ้งจก
หรือนกสาริกาเพื่อเป็นตัวแทนของความมีเสน่ห์เป็นที่รักใคร่ของคนทั่วไป
โดยเฉพาะให้ผลดีทางการเจรจา ค้าขายทำให้เจริญรุ่งเรืองทำมาค้าขึ้น
ส่วนลายสักเพื่อผลทางอยู่ยงคงกระพันชาตรี
จะนิยมสักลวดลายซึ่งเป็นตัวแทนความดุร้ายความปราดเปรียว ความสง่างาม ความกล้าหาญ
ได้แก่ลายเสือเผ่น หนุมานคลุกฝุ่น หงส์ และลายสิงห์ เป็นต้น
หรือเป็นลายที่เปรียบเสมือนเกราะป้องกันภยันตราย เช่น เก้ายอด ยันต์เกราะเพชร
หรือลายยันต์ชนิดต่างๆ
และสิ่งที่สำคัญที่สุดที่เป็นแก่นแท้ของการสักเพื่อผลทางไสยศาสตร์
และถือกันว่าเป็นหัวใจของการสักคือ หัวใจของคาถาที่กำกับลวดลายสักแต่ละลายอยู่
เพราะสิ่งนี้คือเคล็ดลับวิชาคาถาอาคมที่เป็นวิชาชั้นสูงของแต่ละอาจารย์สักที่จะไม่เ
ปิดเผยให้แก่ผู้ใดเป็นอันขาดนอกจากลูกศิษย์ที่ได้รับความไว้วางใจให้เป็นผู้รับถายทอดวิชาสักของอาจารย์สืบต่อไป
นอกจากนั้นยังมีผู้นิยมสักเพื่อความสวยงาม
ซึ่งการสักเพื่อความสวยงามจะไม่เกี่ยวข้องกับกับการเพื่อผลทางไสยศาสตร์แต่อย่างใด
ดังนั้นจึงเป็นการสักเฉพาะรูปสวยเฉยๆ ไม่มีการลงหัวใจของอักขระเลขยันต์ต่างๆ
หรือลงอักขระกำกับรูปภาพ
ลวดลายสักจึงมักขึ้นอยู่กับความต้องการหรือรสนิยมของผู้สัก เช่น รูปผู้หญิงเปลือย
ผีเสื้อ ดอกไม้ หัวใจ ฯลฯ
โดยรูปภาพเหล่านี้จะบอกนิสัยใจคอของผู้สักหรือบอกอดีตที่เป็นความประทับใจหรือความทร
งจำของผู้สักที่ต้องการประทับตราไว้กับตัวเขาตลอดไป เช่น ชื่อคน ชื่อประเทศ
วันเดือนที่สำคัญ เป็นต้น ลายสักดังกล่าวจะต้องถูกสักอยู่ในตำแหน่งที่ถูกที่ควร
ไม่เช่นนั้นความขลังจะไม่เกิด
โดยมากผู้มาสักประสงค์จะให้ลายสักอยู่ภายในร่มผ้ามากที่สุด
ตำแหน่งที่นิยมสักเรียงตามลำดับดังนี้คือ บริเวณหลัง หน้าอก คอ ศีรษะ ไหล่ แขน
ชายโครง หน้า มือ และหัวเข่า
แววงคนสักลาย
เนื่องจากวัตถุประสงค์ของการสักคือเพื่อผลทางไสยศาสตร์
จึงต้องสักโดยครูอาจารย์ที่มีวิชาอาคมศักดิ์สิทธิ์โดยเฉพาะเท่านั้น
ฆราวาสหรือบุคคลธรรมดาที่ไม่มีวิชาความรู้ทางด้านนี้จะไม่ได้รับการยอมรับ ครู
และอาจารย์และช่างสักส่วนใหญ่จึงเป็นพระภิกษุ
หรือเกจิอาจารย์ชื่อดังที่ได้รับการยอมรับนับถือจากบุคคลทั่วไป และความศักดิ์สิทธิ์ของการสักก็มักจะได้รับการทดสอบจนเห็นผลเป็นที่ร่ำลือมาแล้ว จากคำบอกเล่าของพระอาจารย์ชื่อดังท่านหนึ่งให้ความรู้ว่า
ปัจจุบันอาจารย์สักที่ลงคาถาอาคมและมีอานุภาพดังคำร่ำลือมีไม่เกิน ๑๐
สำนักในเมืองไทย ผลการศึกษาของนักวิชาการระบุออกมาว่า อาจารย์สักส่วนใหญ่เป็นผู้ชายอายุ
๕๐ ปีขึ้นไป มีประสบการณ์มากกว่า ๒๐ ปี
อาจารย์สักถ้าเป็นผู้หญิงจะไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนัก
เช่นเดียวกับผู้ที่มารับการสักโดยมากจะเป็นผู้ชาย จะเป็นผู้หญิงก็เป็นส่วนน้อย
ซึ่งมักจะมาสักเพียงเพื่อต้องการจะดึงดูดเพศตรงข้าม หรือต้องการจะมีเสน่ห์ในการพูดจาเพื่อค้าขายได้คล่อง
ฉะนั้นลายสัก นะหน้าทอง และสาริกาลิ้นทอง จึงเป็นลายสักที่ นิยมในเพศหญิง
ตรงกันข้ามกับฝ่ายขายที่มีความกระหายอยากจะได้ของดีติดตัวคือเหตุผลที่มาเป็นอันดับห
นึ่ง ความศรัทธาเชื่อมั่นในครูอาจารย์และเพื่อนฝูงญาติพี่น้องชักชวนให้มาสัก
เป็นเหตุผลที่รองลงมาแต่จะด้วยเหตุผลใดก็ตาม
ชายหรือหญิงคนนั้นจะต้องมีใจรักและเชื่อมั่นในเรื่องนี้อย่างเหนียวแน่น
เท่าที่ผ่านมาผู้ที่ได้รับการสักครั้งแรกไปแล้วก็มักจะกลับมาสักอีกครั้งเป็นอย่างน้
อย บางคนอาจถึง ๑๐ ครั้งขึ้นไป
อย่างไรก็ตาม
แม้ทุกวันนี้จะมีผู้เชื่อมั่นและศรัทธาในการสักอยู่
แต่ก็นับว่าลดลงไปมากเมื่อเทียบกับอดีตที่ผ่านมา และนับวันข้อมูลต่างๆ
เกี่ยวกับลายสักจะสืบค้นได้ยากยิ่งขึ้น เป็นเพราะขาดผู้รู้ผู้ชำนาญ
อาจารย์บางท่านที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบันก็ไม่ค่อยถ่ายทอดวิชาให้แก่ศิษย์
ทำให้นับวันผู้ที่รู้วิชานี้ยิ่งลดน้อยลงทุกที
อีกทั้งสังคมปัจจุบันไม่ค่อยยอมรับคนที่มีลายสักโดยดุษณีเช่นแต่ก่อนอีกแล้วในทางกลั
บกันทัศนคติของคนไทยในวันนี้กลับมองว่าคนที่มีรอยสักเป็นผู้ที่มีการศึกษาน้อย
เป็นผู้มีอาชีพใช้แรงงาน เป็นนักเลงหัวไม้ หรือเข้าใจหนักลงไปอีกว่า คนที่สักลายคือ
พวกขี้คุกขี้ตรางที่มีลายสักซึ่งสักกันเองภายในเรือนจำ
ประกอบกับการสักเป็นอุปสรรคในการรับราชการทหาร ตำรวจ และพลเรือน
ความเสื่อมอีกประการหนึ่ง
ผู้ได้รับการสักปฏิบัติตนไม่เหมาะสมใช้ผลของการสักทางไสยศาสตร์หรือการอยู่ยงคงกระพั
นชาตรีไปในทางที่ผิด เช่น โอ้อวด ท้าทาย ประลองต่อสู้กับผู้อื่น ทำตนเป็นมิจฉาชีพ
ก่ออาชญากรรม
ซึ่งมีส่วนผลักดันให้ค่านิยมของคนที่มีต่อลายสักเป็นไปในทางลบยิ่งขึ้น